วัฒนธรรมของคนไทยที่เรียกว่า “ชา”

ชาวสยามดื่มน้ำชาสำหรับสบายใจและสนทนาเพลิน…….คนสยามในกรุง (ศรีอยุธยา) มีประเพณีส่งน้ำชาให้แก่ (แขก) บรรดาผู้ที่มาเยี่ยมเยือน”

       โดยเมื่อ 306 ปีก่อนชาวไทยหรือชาวสยาม มีประเพณีชงน้ำชาต้อนรับแขกกันแล้ว ใบชาที่ใช้ชงดื่มในสมัยนั้นได้รับมาจากประเทศจีน ซึ่ง 186 ปีหลังจากนั้น คือปีพ.ศ.2416  ได้ปรากฏคำอธิบายศัพท์ว่า “ชา” ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ (อักขราภิธานศัพท์) ของหมอบรัดเลย์ว่า “ชาเป็นชื่อใบไม้มาแต่เมื่องจีน สำหรับใส่ในน้ำร้อนกินให้สบายใจ”

จากนั้นเมื่อปีพ.ศ.2416 ชาวไทย(สยาม) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยังดื่มน้ำชาเพื่อความสบายใจ เช่นเดียวกับเมื่อปีพ.ศ.2230 สมัยกรุงศรีอยุธยา การดื่มน้ำชาคงจะกลายเป็นวัฒนธรรมของชาวไทยไปเรียบร้อยแล้วในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะพระภิกษุในพระพุทธศาสนาคงจะฉันน้ำชา และใช้ต้อนรับแขกทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่งมีการปรากฏในคำกลอนของสุนทรภู่ ได้มีการบรรยายไว้ใน รำพันพิลาป” ซึ่งเชื่อว่าแต่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ตอนหนึ่งว่า

3626เห็นต้นชาหน้ากระไดใจเสียดาย เคยแก้อายหลายครั้ง ประทังจน ได้เก็บฉันวันละน้อยอร่อยรส ด้วยยามอดอัตคัด แสนขัดสนจะซื้อหาชาจีนทรัพย์สินจนจะจากต้นชาให้อาลัยแฮ”

ที่มา : หนังสือชาเครื่องดื่มสุขภาพร่วมสมัย โดย คุณพูกานดา พิศชมพู