วัฒนธรรมของคนไทยที่เรียกว่า “ชา”

ชาวสยามดื่มน้ำชาสำหรับสบายใจและสนทนาเพลิน…….คนสยามในกรุง (ศรีอยุธยา) มีประเพณีส่งน้ำชาให้แก่ (แขก) บรรดาผู้ที่มาเยี่ยมเยือน”

       โดยเมื่อ 306 ปีก่อนชาวไทยหรือชาวสยาม มีประเพณีชงน้ำชาต้อนรับแขกกันแล้ว ใบชาที่ใช้ชงดื่มในสมัยนั้นได้รับมาจากประเทศจีน ซึ่ง 186 ปีหลังจากนั้น คือปีพ.ศ.2416  ได้ปรากฏคำอธิบายศัพท์ว่า “ชา” ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ (อักขราภิธานศัพท์) ของหมอบรัดเลย์ว่า “ชาเป็นชื่อใบไม้มาแต่เมื่องจีน สำหรับใส่ในน้ำร้อนกินให้สบายใจ”

จากนั้นเมื่อปีพ.ศ.2416 ชาวไทย(สยาม) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ก็ยังดื่มน้ำชาเพื่อความสบายใจ เช่นเดียวกับเมื่อปีพ.ศ.2230 สมัยกรุงศรีอยุธยา การดื่มน้ำชาคงจะกลายเป็นวัฒนธรรมของชาวไทยไปเรียบร้อยแล้วในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเฉพาะพระภิกษุในพระพุทธศาสนาคงจะฉันน้ำชา และใช้ต้อนรับแขกทั่วบ้านทั่วเมือง ซึ่งมีการปรากฏในคำกลอนของสุนทรภู่ ได้มีการบรรยายไว้ใน รำพันพิลาป” ซึ่งเชื่อว่าแต่งในสมัยรัชกาลที่ 3 ตอนหนึ่งว่า

3626เห็นต้นชาหน้ากระไดใจเสียดาย เคยแก้อายหลายครั้ง ประทังจน ได้เก็บฉันวันละน้อยอร่อยรส ด้วยยามอดอัตคัด แสนขัดสนจะซื้อหาชาจีนทรัพย์สินจนจะจากต้นชาให้อาลัยแฮ”

ที่มา : หนังสือชาเครื่องดื่มสุขภาพร่วมสมัย โดย คุณพูกานดา พิศชมพู

วัฒนธรรมการดื่มชาเขียวนานาชาติ

 china_flagการดื่มชาแบบจีน

การดื่มชาเป็นที่รู้จักกันในเฉพาะภาคใต้ของประเทศจีน เพิ่งมีความนิยมดื่มในภาคเหนือ ในสมัยราชวงศ์ถัง ซึ่งในสมัยนั้นจะมีกรรมวิธีในการชงชาแตกต่างจากชาที่รู้จักเพราะเขาจะเอาใบชาเขียวไปนึงกับข้าว เติมเกลือ ขิง เปลือกส้ม และเครื่องเทศ แล้วปั้นเป็นก้อนไว้ละลายในน้ำร้อนดื่ม ส่วนในปัจจุบัน ชาวจีนที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือนิยบใส่เกลือและนม ส่วนทางภาคใต้นิยมการเติมพริกไทยลงไปในชาอีกด้วย

1

การดื่มชาแบบฮ่องกง

การดื่มชา หรือ หยำชา เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอาหารที่สำคัญของชาวฮ่องกงที่นิยมดื่มคู่กับติ่มซำ นอกจากนี้ยังเป็นประเพณีที่ใช้แสดงความขอบคุณตามธรรมเนียมจีนดั้งเดิมอีกด้วย ในขณะดื่มชาหากมีการใช้นิ้วทั้งสามเคาะลงบนโต๊ะนั้นหมายถึง การแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่เติมชาให้

1275451095

การดื่มชาแบบทิเบต

ชาวทิเบตนิยมดื่มชาเพื่อช่วยเสริมสารอาหาร เพราะคนส่วนใหญ่ชอบกินเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อแพะและเนื้อจามรี และกินขนมปะปา (ทำจากแป้งข้าวสารีขิงเคอ) และมีอาหารประเภทผักและผลไม้ค่อนข้างน้อย ชาวทิเบตมีหลากหลายประเภท มีชาเขียวเติมเกลือโดยนำชาเขียวที่ต้มแล้วไปกรอง เวลาจะดื่มก็เติมนมแพ เกลือและข้าวบาร์เลย์แห้ง

Russia1

การดื่มชาแบบรัสเซีย

ชาวรัสเซียนิยมดื่มชาดำและชาเขียว บางคนใส่น้ำตาลไว้ในปากแล้วดื่มน้ำชาตาม บางคนใส่แยม บางคนใส่น้ำผึ้ง แต่บางคนใส่พริกลงและดื่มเพื่อไล่ความหนาว คนรัสเซียส่วนมากนิยมการดื่มชาด้วยเหตุผลที่พบว่า ทหราที่ดื่มชานั้นมีอัตรา การบาดเจ็บเพราะความหนาวและโรคภัยไข้เจ็บต่ำกว่าผู้ที่ไม่ดื่มชา ดังนั้นในปีพ.ศ.2429 ชาจึงถูกจัดใหเป็นยุทธปัจจัยสำคัญของกองทัพอย่างเป็นทางการ

Flag_of_India.svg

การดื่มชาแบบอินเดีย

ชาวอินเดียนิยมดื่มชาที่มีรสชาติเผ็ดซ่าเช่นเดียวกับการรับประทานอาหาร การดื่มชาที่ต้มกับนมและใส่ดครื่องเทศไม่ว่าจะเป็นกระวาน กานพลู อบเชย ลูกจันทร์ และค่อยใส่น้ำตาลสามารถหาซื้อชาดื่มได้ตามริมถนนของเมืองใหญ่ที่บรรจุน้ำชาในถ้วยดินเผา

ที่มา : ชาเครื่องดื่มสุขภาพร่วมสมัย โดย คุณพูกานดา พิศชมพู

วิถีชาเขียวจากแดนอาทิย์อุทัยสู่แผ่นดินไทย

การก่อกำเนิดของชาเขียว กำเนิดชาเขียว ญี่ปุ่นเรียกชาเขียวว่า เรียวคุชะ (Ryokucha , 緑茶) เท้าความถึงการการค้นพบชาในประเทศจีนก่อน โดยเริ่มต้นที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมื่อยุคเริ่มต้นอารยธรรมมนุษย์ ประมาณห้าพันปีมาแล้ว ค้นพบโดยจักรพรรดิในตำนานของจีนเสินหนงสื่อ ผู้ที่ไดัรบสมญานามว่า เทพเจ้าของชาวนา และยังเป็นผู้ที่ชอบค้นคว้ายาสมุนไพรต่างๆ ด้วยความที่เป็นคนชอบดื่มน้ำต้มสุกอยู่เป็นประจำ มีอยู่วันหนึ่งขณะที่เสินหนงสื่อ กำลังนั่งเล่นอยู่แถวต้นชาในป่าเขา และกำลังต้มน้ำอยู่ ลมได้พัดใบชาร่วงหล่นลงมาในน้ำที่กำลังเดือดได้ที่ เมื่อเค้าลองดื่มดูก็เกิดความรู้สึกสดชื่นเป็นอย่างมาก และแล้วการดื่มชาในประทศจีนก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมา

GreenTea6

การเข้ามาของชาในประเทศญี่ปุ่นนั้น เริ่มราวต้นสมัยเฮอัน (Heian) ในสมัยนั้นจีนและญี่ปุ่นเริ่มมีการติดต่อทางด้านศาสนาพุทธและวัฒนธรรมกันบ้าง นักบวชญี่ปุ่นได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆ จากประเทศจีนรวมทั้งการศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีนอีกด้วย เพราะฉะนั้น ชา จึงเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกๆ โดยพระสงฆ์นั่นเอง เริ่มจากนักบวช Eichu จากวัด Bonshakuji จังหวัดไอจิ ได้นำชาอัดแข็ง (ต้องฝนกับหินก่อนแล้วจึงใส่น้ำร้อนถึงจะดื่มได้) และเมล็ดชาจำนวนไม่มากเข้ามาที่ญี่ปุ่นก่อน เมื่อจักรพรรดิ Saga ได้เข้ามาเยี่ยมพระ Eichu ที่วัด พระ Eichu จึงชงชาใส่ถ้วยนำมาถวาย เมื่อองค์จักรพรรดิได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ จึงสั่งให้นำเมล็ดชาไปปลูกที่สวนสมุนไพรภายในบริเวณราชวัง ชาได้แพร่หลายไปในแถบภูมิภาคคิงคิ (เกียวโต) แต่ความนิยมยังคงมีอยู่แต่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูง

GreenTea4ในช่วงตอนต้นสมัยคามาคุระ (Kamakura) นักบวช Eisai ผู้ก่อตั้งนิกาย Rinzai หนึ่งในพุทธศาสนาเซน ได้นำเมล็ดชามาจากจีนเป็นจำนวนมากพร้อมกับกรรมวิธีการผลิตชากลับมาด้วย นั่นก็คือการดื่มชาในสไตล์ Matcha  นักบวช  Eisai ได้ส่งเสริมการเพาะปลูกชาเพื่อใช้เป็นสมุนไพรให้แพร่หลายมากขึ้น และมีประโยคหนึ่งในหนังสือที่ท่านได้เขียนไว้ว่า “ชาเป็นพื้นฐานทางจิตใจและเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ดีที่สุด ทำให้ชีวิตถูกเติมเต็มและมีความสมบูรณ์มากขึ้น” จากนั้นก็เริ่มมีการค้นคว้าสรรพคุณของชา ที่ช่วยดับกระหายได้ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และช่วยล้างพิษด้วยการขับสารพิษออกทางปัสสาวะอีกด้วย สมัยนั้นนักบวช Eisai ได้แนะนำให้โชกุน มินาโมโตะ ซาเนะโมโตะ ที่ทนทุกข์ทรมานจากการดื่มสุราอย่างหนัก ได้ลองดื่มชาและอาการของโชกุนก็หายไปในที่สุด ต่อมา นักบวช Eisai ก็ได้เดินทางเพื่อออกเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาไปทั่วญี่ปุ่น จากนั้นชาจึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งพิธีกรรมบางอย่างและใช้เพื่อการรักษาโรค และยังเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มเพื่อสุขภาพกันมากขึ้นอีกด้วย

GreenTea5ในสมัยมุโระมาจิ (Muromachi) เริ่มมีพิธีชงชาในแบบฉบับดั้งเดิมของญี่ปุ่นแล้ว เรียกว่า Chanoyu และในยุคนี้การชงชาเริ่มมีการผสมผสานทางด้านความคิด จิตวิญญาณ และการสร้างสรรค์ศิลปะในแบบธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว รวมถึงเริ่มมีการลงรายละเอียดในภาชนะที่ใช้ในพิธีชงชา รวมไปถึงการเสิร์ฟชาเขียวในร้านอาหารอีกด้วย การดื่มชายังเป็นที่นิยมในงานพบปะสังสรรค์ของชนชั้นนักรบมากขึ้น แต่เป็นการดื่มชาเพื่อเล่นเกมทายปัญหาต่างๆ เพื่อชิงรางวัลเป็นเหล้าสาเก และมีการร้องเล่นเต้นรำไปด้วย ต่อมานักบวชเซนShuko Murata ไม่เห็นด้วยกับการดื่มชาเพื่อความสนุกสนานเช่นนั้น เขาคิดว่า โลกแห่งความเรียบง่ายของเซนนั้นมีแนวคิดแตกต่างออกไปในการดื่มชา การดื่มชาด้วยความเรียบง่ายและมีสมาธิในแบบของเซนจะช่วยให้จิตใจสามารถพัฒนาขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ นักบวชจึงออกแบบห้องพิธีชงชาขนาดเล็ก เพื่อใช้สนับสนุนการชงชาตามอุดมคติของนักบวช Eisai และในขณะที่ชงชานั้นก็ได้ผสมผสานจิตวิญญาณของพุทธศาสนานิกายเซน

image

และผู้ที่วางแผนและให้กำเนิดประเพณีการชงชาในแบบฉบับญี่ปุ่นอย่างแท้จริงก็คือ Sen Rikyu เขาได้เป็นประธานพิธีชงชาหลายต่อหลายงานที่ใช้งบในพิธีอย่างฟุ่มเฟือยในสมัยโชกุน โนะบุนะงะ โอดะ และสืบต่อมาในสมัยโชกุน โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ในสมัยนี้ชาเริ่มมีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวคิดในด้านศิลปะหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ การออกแบบสวนญี่ปุ่น และอาหารญี่ปุ่น

ต่อมาในสมัยยุคเอโดะ พิธีชงชาและการดื่มชาเริ่มมีการขยายวงกว้างลงมาถึงชนชั้นล่างมากขึ้น แต่เมื่อถึงการเก็บเกี่ยวชาที่ดีที่สุดในช่วงแรกของปีก็ต้องส่งมอบให้กับชนชั้นซามูไรก่อน ส่วนชาที่ชาวบ้านดื่มกันจะเป็นชาที่เก็บเกี่ยวในครั้งต่อมาคุณภาพก็จะด้อยลงมา

ต่อมาในสมัยยุคเมจิ การผลิตชามีมากขึ้น มีหนังสือเทคนิคการผลิตต่างๆ ออกมาอย่างแพร่หลาย เริ่มมีเครื่องจักรเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต และเริ่มมีการส่งออกชาไปยังต่างประเทศแล้ว และปริมาณการส่งออกยังมากเป็นอันดับสองรองจากประเทศจีนอีกด้วย แม้การส่งออกจะกระท่อนกระแท่นไปบ้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะตอนนั้นชาดำเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศ แต่ไม่นานในศตวรรษที่ 20 ชาเขียวก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนทั้งประเทศญี่ปุ่นและแพร่หลายออกมาทั่วโลกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

7-5

ประวัติการปลูกชาในประเทศไทย     ในสมัยสุโขทัยช่วงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่ม ชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาได้อย่างไร และเมื่อใดแต่จาก จดหมายของท่าน ลาลูแบร์ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขกการดื่มชา ของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมจะอยู่ทางภาคเหนือ

ประเภทของชาเขียว มี 2 ประเภท

  1. ชาเขียวแบบญี่ปุ่น ชาเขียวแบบญี่ปุ่นไม่ต้องคั่วใบชา ชาเขียวมีสารอาหารพวกโปรตีน น้ำตาลเล็กน้อย และมีวิตามินอีสูง
  2. ชาเขียวแบบจีน ชาเขียวแบบจีนจะมีการคั่วด้วยกะทะร้อน
  3. วิตามินเอและวิตามินอีที่มีอยู่ในใบชาจะสูญเสียไปเกือบหมดถ้าใช้ระยะเวลาในการชงนานจนเกินไป ส่วนปริมาณของแคลเซียม เหล็ก และวิตามินซีจะสูญเสียไปประมาณครึ่งหนึ่ง

โดยปัจจุบันนี้วัฒนธรรมการดื่มชาเขียวมีการเผยแพร่อย่างรวดเร็วจากคนรุ่นใหม่เป็นจำนวนมากที่มีการผสมผสานความเป็นชาตินิยมทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางสินค้าและวัฒนธรรมร่วมกันเกิดผลผลิตทางวัฒนธรรมตลอดจนมีสื่อทางเทคโนโลยีเข้ามาร่วมเผยแพร่อีกทางหนึ่ง เพื่อช่วยให้คนไทยได้รู้จักคำว่าชาเขียวมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อเป็นการเพิ่มอรรถรสในการเรียนรู้วัฒนธรรมและค่านิยมจากต่างประเทศเพื่อนำมาปรับปรุงและปรับใช้ให้มีความกลมกลืนมากยิ่งขึ้น เป็นวิถีชาเขียวที่ถูกปากตรงใจกับคนทุกชนชาติ รวมทั้งคนไทยอีกด้วย

 

ศาสตร์แห่งการดื่มชาญี่ปุ่น กับ พิธีชงชาญี่ปุ่น 绿茶 ผสมผสานกับวัฒนธรรมของไทย

หากได้นั่งจิบชาหอมกรุ่น รสชาติละมุนท่ามกลางบรรยากาศอันสุขสงบ จะมีอะไรสุนทรีย์เท่านี้อีกหน่อ…. ชาเขียวอันเลื่องชื่อของชาวญี่ปุ่นที่เราคุ้นเคยกันดีนั้น ก่อนจะมีแบบพร้อมดื่ม เปิดฝาปั๊ปกระดกขวดปุ๊บนั้น มีที่มาที่ไป ผ่านประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,000 ปีเชียวค่ะ มีประวัติบันทึกไว้ว่า ชานั้นได้รับอิทธิพลมาจากจีนและเริ่มมีการนำเข้าสู่ญี่ปุ่นโดยคณะทูตในช่วงสมัยนาระ (ราวศตวรรษที่ 8) แต่มาแพร่หลายเอาเมื่อช่วงสมัยคามุระและในสมัยมุโรมาจิ (ราวศตวรรษที่ 12 – 15)

Tea_Ceremony_04

ซึ่งคาดว่าคณะสงฆ์ในนิกายมหายานได้ริเริ่มแบบแผนการดื่มชาในวัดเซน โดยจะปฏิบัติไปพร้อมๆ กับการปฏิบัติธรรม จากนั้นจึงแพร่หลายเข้าสู่ราชสำนัก หมู่นักรบขุนนางชั้นสูง ต่อมา เซน ริกิว ก็สร้างแบบแผนของพิธีชงชาขึ้น จนได้รับการยอมรับอย่างยิ่งในสมัยนั้น นับแต่นั้นพิธีชงชาก็กลายเป็นพิธีที่ประณีต งดงาม ขรึงขลัง จนถือเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของประเทศญี่ปุ่น ที่ไม่ว่าชาติใดๆ ก็ต้องรู้จักและอยากลิ้มลองรสชาเขียวจากพิธีการนี้สักครั้ง

ชาที่นิยมดื่มและใช้ในพิธีชงชานั้นคือชาเขียวค่ะ การทำไร่ชาของชาวญี่ปุ่นจะนิยมทำกันตามเชิงเขาที่กว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา และในแต่ละพื้นที่ก็จะให้รสชาติชาที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและคุณภาพของดิน ซึ่งส่วนที่นำมาทำชาคุณภาพดีนั้นจะเป็นส่วนของยอดอ่อนที่อยู่บนสุด และเครื่องมือการเก็บชาที่ดีที่สุดคือมือมนุษย์เรานี่แหละค่ะ หลังจากนั้นก็นำชามาแปรรูป ซึ่งจะมีหลายแบบ ทั้งการตากแห้ง การหมัก การอบด้วยไอน้ำเดือด การนำมาคั่วไปจนถึงการนำมารีดใบให้แห้ง ทำให้ยุ่ย บิดงอ เพื่อให้เกิดกลิ่นหอมของชาออกมา ซึ่งชาเขียวที่ใช้ในพิธีการชงชานั้นจะต้องผ่านการบดให้เป็นผงละเอียดเรียกว่า ” มัทฉะ ” (抹茶) 

Tea_Ceremony_01 (2)

นอกจากวัตถุดิบสำคัญนี้แล้ว ก็ยังมีอุปกรณ์อย่าง ถ้วยชา ที่เกือบทุกบ้านจะเลือกใช้ถ้วยที่สวยงาม โชว์ศิลปะหรือความพิเศษเฉพาะตัว บางถ้วยมีคุณค่าเป็นมรดกตกทอดประจำตระกูลกันเลยทีเดียว นอกจากนั้นก็จะมีกระปุกสำหรับใส่ผงชาเขียว ช้อนตักชาที่เป็นช้อนไม้ใผ่ขนาดเล็กๆ ปลายงอเล็กน้อย ไม้ชงชาจะมีลักษณะคล้ายๆ ที่ตีไข่แต่ขนาดเล็กกว่า โดยส่วนที่ใช้คนจะนำไม้ใผ่ซี่บางๆ มาดัดให้โค้งงอ มีความละเอียด 2 แบบ คือ 80 ซี่และ 120 ซี่ ค่ะ และก็จะมีหม้อต้มน้ำร้อน กระบวยตักน้ำ ผ้าเช็ดอุปกรณ์เป็นหลัก ซึ่งยิ่งเป็นพิธีการชั้นสูงก็จะยิ่งมีอุปกรณ์ต่างๆ เยอะขึ้นอีกค่ะ

     Tea_Ceremony_02

       พิธีชงชาหรือ ” ชาโนยุ ” (茶の湯) นั้นถือว่าเป็นธรรมเนียมที่เคร่งครัด มีพิธีรีตอง ตั้งแต่ท่าทางการนั่ง การจับเครื่องมือ การตักน้ำ ไปจนถึงการดื่มเลยทีเดียวค่ะ ด้วยเหตุนี้จึงมีสถาบันการเรียนการสอนพิธีชงชากันโดยเฉพาะ ซึ่งบางแห่งเรียนกันเป็นปีๆ เลยล่ะค่ะ ขั้นตอนคร่าวๆ ในพิธีชงชานั้นจะเริ่มจากการเชิญแขกเข้าสู่ห้องชงชา ซึ่งจะจัดแบบเรียบง่าย ขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีของตกแต่งอย่างแจกันดอกไม้แบบญี่ปุ่น หรือภาพห้อยประดับผนัง พื้นห้องจะปูด้วยเสื่อทาทามิ ซึ่งจะมีส่วนที่ทำเป็นช่องเล็กๆ สำหรับวางเตาและหม้อต้มน้ำร้อนสำหรับชงชา

Tea_Ceremony_03จากนั้นผู้ดำเนินการชงชาที่แต่งชุดกิโมโนอย่างสวยงามก็จะนั่งลงอย่างสงบนิ่ง เริ่มเช็ดถ้วยชาอย่างช้าๆ เสร็จแล้วก็จะใช้ช้อนตักผงชาเขียวใส่ถ้วย ตามด้วยการตักน้ำร้อนจากหม้อ ใช้ที่คนชาคนเบาๆ และตีแรงขึ้นจนคล้ายการตีไข่ให้ชาขึ้นฟอง เมื่อได้ที่ก็จะยกถ้วยชาขึ้นหมุนประมาณ 3 ครั้งแล้ววางไว้ด้านหน้าผู้ดื่มค่ะ ผู้ดื่มจะโค้งเล็กน้อย พร้อมยื่นมือขวาจับถ้วยชาขึ้นวางบนฝ่ามือซ้าย หมุนถ้วยชาตามเข็มนาฬิกา

จากนั้นยกขึ้นดื่มภายใน 3 ครั้งจนหมดค่ะ ว่ากันว่าครั้งสุดท้ายนั้นต้องดื่มให้มีเสียงดังๆ เป็นการแสดงถึงมารยาทและความชื่นชอบในรสชาติของชาด้วยนะคะ ดื่มเสร็จหมุนถ้วยชากลับมาอีกครั้ง แล้ววางลงค่ะ หลายคนอาจสงสัยทำไมต้องทำการหมุนถ้วยชากลับอีกครั้ง แล้ววางลงค่ะ หากสังเกตดีๆ การหมุนถ้วยชานี้ ที่บางตำราบอกจำนวนครั้งหรือระยะการหมุนเป็นองศาเลยนั้น จริงๆ แล้วมันคือการโชว์ศิลปะความงามของถ้วยชา

การผสมผสานของญี่ปุ่นการดื่มชาเขียวในประเทศไทย

โดยในยุคสมัยนี้การดื่มชาเขียวของไทยมีการแพร่หลายมากด้วยการที่มีการรับวัฒนธรรมแบบญี่ปุ่นที่มีการผสมผสานของวัฒนธรรม เพื่อแลกเปลี่ยนวิถีการดื่ม การรับประทาน แต่ยังคงไว้ด้วยวัฒนธรรมดั้งเดิมแม้ว่าจะมีการแพร่กระจายของวัฒนธรรมในประเทศไทยก็ตาม เมื่อมองถึงค่านิยมการดื่มชาเขียวส่วนใหญ่ร้านขายเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมักจะประกอบด้วยชาเขียวเป็นส่วนผสมอยู่ด้วยซึ่งการดื่มชาเขียวอาจจะประกอบด้วยข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป แต่เพียงว่าผู้คนจะเลือกดื่มปริมาณหรือน้อยก็แล้วแต่สมควร

เปิ่น-กาแฟถุงกระดาษ-แฟรนไชส์คืนทุนไว-กำไรงาม-3

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับชาเขียว

           มนุษย์รู้จักดื่มชา เมื่อ 2737 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต้นชามีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis กําเนิดของต้นชามาจากประเทศจีน พันธุ์ชามีมากกว่า 2,000 พันธุ์ชาที่จําหน่ายแบ่งได้ 7 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

  1. ชาขาว (White tea) ใบของชามีสีเขียวอ่อน ปกคลุมด้วยขนขาวๆ ใบจะตากแห้งโดยใช้แสง แดดเมื่อชงชาแล้วจะได้ชาที่มีสีซีดมาก
  2. ชาเขียว (Green tea) ใบของชามีสีเขียว ใบแห้งทําโดยการนําชาสดคั่วหรืออบไอน้ำเพื่อ ทําลายเอนไซม์ และป้องกันการออกซิเดชันของโปลีฟีนอล (Polyphenol) เมื่อชงจะได้เครื่อง ดื่มสีเขียว
  3. ชาแดง (Red tea) ใบของชาเขียว ได้ผ่านกระบวนการออกซิเดชันหรือการหมัก จนได้เป็นใบ ชาสีเข้ม เมื่อชงจะได้เครื่องดื่มสีออกน้ำตาลแดง
  4. ชาดํา (Black tea) ใบของชาเขียว ผ่านกระบวนการหมักเต็มที่ทําให้ใบออกสีดําเข้ม ใบทําให้ แห้งโดยการใช้เครื่องอบ เครื่องดื่มที่ได้จะออกสีแดงเข้มจนดูดํา
  5. ชาอูลองเขียว (Green oolong) ใบของชาเขียวถูกออกซิไดซ์ 15 – 20 % ก่อนเข้าเครื่องอบ แห้ง เครื่องดื่มที่ได้จะมีสีเขียวทอง
  6. ชาอูลองแดง (Red oolong) ใบของชาเขียวถูกออกซิไดซ์ 15 – 20 % ก่อนเข้าเครื่องอบแห้ง เครื่องดื่มที่ได้จะมีสีออกน้ำตาลแดงเข้ม
  7. ชากลิ่น (Scented tea) เพิ่มกลิ่นโดยการเติมดอกไม้ ผลไม้ เซียนชามักกล่าวว่า ชากลิ่น มักใช้ ใบชาที่มีคุณภาพต่ำมาแต่งกลิ่นลงไป นิยมใช้ชาดํา ยกเว้นชากลิ่นมะลิ

绿茶 วิธีการชงชาเขียวอย่างถูกวิธี

     

green-tea

การดื่มชาเขียวเพื่อบำรุงสุขภาพและป้องกันโรคต่าง ๆ ให้ดื่มอย่างน้อยวันละ 3 ถ้วย ซึ่งการชงชาเขียวสำหรับดื่มนั้น ทำได้หลายวิธี เช่น ชงชาร้อน ชงในถ้วย ชงในกา รวมทั้งการชงชาใส่น้ำแข็ง

1.  ชงชาเขียวในถ้วย

ใส่ใบชาเขียวประมาณ 1 ช้อนชาลงในถ้วยชา ถ้าใช้ถ้วยชงชาที่มีที่กรองใบชาในตัวก็จะสะดวกในการชงชา เทน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส ไม่ควรใช้น้ำเดือด ลงไปในถ้วยชา แล้วปิดฝาถ้วย ทิ้งไว้ประมาณ 3 นาที แล้วจึงดื่ม

การดื่มชา เมื่อเปิดฝาขึ้น ควรสูดดมกลิ่นหอมกรุ่นของชา ซึ่งเป็นกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยจากใบชา น้ำชาเขียวจะมีสีเขียวใส ใบชาเขียวจะคลี่ตัวออก หลังจากนั้นจึงค่อยจิบน้ำชาด้วยอาการผ่อนคลาย จะได้ลิ้มรสอันละมุนของน้ำชาเขียว

เมื่อดื่มชาหมดไปเหลือประมาณ 1 ใน 3 ของถ้วย สามารถเติมน้ำร้อน เพื่อชงชาดื่มโดยใช้ใบชาเก่าดื่มได้อีก 2-3 ครั้ง

2.  ชงชาเขียวในกา

ใช้น้ำร้อนเทใส่ในกาแล้วรินน้ำทิ้ง เพื่อให้กาอุ่นขึ้น ใส่ใบชาลงไปในกา ปริมาณขึ้นอยู่กับขนาดของกา เช่น ใช้ใบชา 2 ช้อนชา ต่อกาที่ใส่น้ำชาได้ 6 ถ้วย หลังจากนั้นใส่น้ำร้อน (อุณหภูมิประมาณ 80 องศาเซลเซียส) ลงไปในกาปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที หลังจากนั้นจึงเทน้ำชาจากกาใส่ถ้วย สูดดมกลิ่นและลิ้มรสน้ำชาเขียวด้วยการจิบ

เมื่อดื่มชาหมดไปเหลือประมาณ 1 ใน 3 ของถ้วย สามารถเติมน้ำเพื่อชงชาดื่มโดยใช้ใบชาเก่าดื่มได้อีก 2-3 ครั้ง

3.  การชงชาเขียวเย็น

การชงชาเย็นหรือชาใส่น้ำแข็ง ไม่ควรชงด้วยน้ำร้อนแล้วจึงมาทำให้เย็น แต่ควรชงด้วยน้ำเย็นโดยตรง โดยการใช้ใบชาเพิ่มเป็น 2 เท่าของการชงชาร้อน วิธีนี้จะช่วยเก็บรักษากลิ่นหอมของใบชา สีและคุณประโยชน์ของชาเขียวเอาไว้

วิธีการชงชาเขียวเย็น ใช้ใบชาเขียว 2 ช้อนโต๊ะ ใส่ในขวดแก้วขนาด 1 ลิตร เติมน้ำดื่มธรรมดา (ไม่ใช้น้ำร้อน) ให้เต็มขวดปิดฝา แล้วนำขวดไปใส่ในกล่องน้ำแข็ง หรือใส่ในตู้เย็น ทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง หรือจนกระทั่งน้ำเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง ก็จะได้น้ำชาเขียวเย็นที่นำมาดื่มได้ แต่ถ้าน้ำชาออกเป็นสีน้ำตาลเข้ม แสดงว่าใช้ใบชามากเกินไปให้ลดใบชาลง หรือเติมน้ำให้มากขึ้น หลังจากดื่มน้ำชาเขียวเย็นไปแล้ว 2 ใน 3 ของขวด สามารถเติมน้ำลงไปในขวด โดยใช้ใบชาเดิมแล้วแช่ทิ้งไว้ได้อีก 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นสีและรสชาติของน้ำชาก็จะจางลง

อ้างอิงจาก : หนังสือวิวัฒนาการอาหารญี่ปุ่นในประเทศไทย

ชาเขียว Green Tea ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ

 

cropped-5504180102.jpg

        ชาเขียว เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มการบริโภคที่เพิ่มขึ้น ปัจจุบันมีการผลิตชาเขียวในรูปแบบของเครื่องดื่มสำเร็จรูปกันอย่างแพร่หลายทำให้สะดวกต่อการบริโภค และด้วยรสชาติความอร่อยของชาเขียว แก้กระหายทำให้รู้สึกสดชื่น รวมไปถึงเทคนิคการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาเขียว หรือข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับสรรพคุณของชาเขียวที่มีต่อร่างกาย เช่น ช่วยลดระดับไขมันในเลือด ลดความอ้วน และป้องกันโรคมะเร็ง เป็นต้น เป็นแรงจูงใจทำให้กระแสการบริโภคชาเขียวเพิ่มขึ้น แต่อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม หรือบริโภคชาเขียวในปริมาณสูงเกินไปโดยไม่ทราบถึงผลกระทบต่อร่างกาย ผู้บริโภคจึงควรทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชาเขียวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย

ชาเขียว ก็คือ ชา (Camellia sinensis) ที่ไม่ผ่านการหมัก เตรียมได้โดยการนำใบชาสดมาผ่านความร้อนเพื่อทำให้แห้งอย่างรวดเร็ว ความร้อนจะช่วยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ทำให้ไม่เกิดการสลายตัว ทำให้ได้ใบชาที่แห้งแต่ยังสดอยู่และยังมีสีที่ค่อนข้างเขียวจึงเรียกว่า ชาเขียว สารสำคัญที่พบได้ในชาเขียวได้แก่ กรดอะมิโน วิตามิน B, C, E สารในกลุ่มแซนทีนอัลคาลอยด์ (xanthine alkaloids) คือ คาเฟอีน (caffeine) และธิโอฟิลลีน (theophylline) ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทส่วนกลางส่งผลให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า และสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) ที่เรียกว่า แคททีชิน (catechins) แคททีชินที่พบมากที่สุดในชาเขียวคือ สารอีพิกัลโลคาเทชินกัลเลต (epigallocatechin gallate) ซึ่งมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารต่างๆ ที่พบในชาเขียวมีผลในการยับยั้งภาวะโรคต่างๆ โดยมีงานวิจัยมากมายสนับสนุนว่าการดื่มชาเขียวมีประโยชน์ต่อร่างกายได้แก่ ชาเขียวมีฤทธิ์ในการลดความอ้วน มีงานวิจัยระบุว่าสารแคททีชินที่พบได้มากในชาเขียวนั้น มีฤทธิ์ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานและไขมันจึงส่งผลต่อการควบคุมน้ำหนักของร่างกาย การดื่มชาเขียวยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด และมีงานวิจัยทางคลินิคพบว่าชาเขียวมีฤทธิ์ต่อต้านการเกิดโรคของหลอดเลือดหัวใจ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับการดื่มชาเขียวมีผลช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ยังไม่มีงานวิจัยใดยืนยันการทดลองและสรุปผลว่าชาเขียวสามารถรักษาโรคมะเร็งได้